Welcome to my blog

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment 2

 
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ถ้าเป็น อะไรคือ I อะไรคือ P แล้วอะไรคือ  O
1.กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) :
                 ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย.(Juice Purification) :
                 น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.การต้ม (Evaporation) :
                 น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.การเคี่ยว (Crystallization) :
                 น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
                 แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้    
1.การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :
                 นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :
                 น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.การเคี่ยว (Crystallization) :
                 น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
                 แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.การอบ (Drying) :
                 ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย




http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html




 

เฉลยการบ้านครั้งที่ 2

 
I                                          p                                                          O

ฮาร์ดแวร์                         การสกักน้ำอ้อย                             น้ำตาลทราย

ซอฟแวร์                           การทำความสะอาดอ้อย                 กากน้ำตาล

ข้อมูล                                การต้มให้ได้น้ำเชื่อม                      ชานอ้อย

บุคลากร                             การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก

                                           การอบ

                                            การบรรจุถุง


                                                                                                

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment1



1. smartphone คืออะไรมีประโยชน์อย่างไรบ้าง บอกมา 5 ประการ

2. Android คืออะไรปกติจะพบสิ่งนี้ที่ไหน
3. Cyber Bully หมายถึงอะไรอธิบายมา 1 ย่อหน้าไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด
smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้
คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
http://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2389-smartphone-คืออะไร.htm
มีประโยชน์ดังนี้
1. สามารถ รู้ข่าวสาร รวดเร็ว และ ไม่พลาดการติดต่อจากเพื่อนฝูง
2.มีความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้น การรับ-ส่ง อีเมล์ แม้กระทั้งติดต่อ เพื่อนร่วมงาน
3.สามารถ นำสิ่งที่ได้พบเจอ มาแชร์ ให้เพื่อนๆได้เห็นๆ
4.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
 
5.สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น
http://smith.in.th/it/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3.html
 
แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
ปกติพบที่  อุปกรณ์มือถือ
คำว่า Cyber Bullying เป็นคำที่เกิดใหม่เพื่ออธิบายการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ เช่น อีเมล์ การส่งข้อความ เว็บ ชุมชนออนไลน์ และ โทรศัพท์ รูปแบบการแกล้งประเภทนี้มีตั้งแต่ นินทา ด่าทอ ส่งข้อมูลลับของคนอื่นโดยมีเจตนาให้บุคคลนั้นเสียชื่อเสียง และ เสื่อมเสีย เช่น การกล่าวหาในเรื่อง ๆ หนึ่ง ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ โดยที่เหยื่อนั้นไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าใครเป็นผู้กระทำ ถึงแม้ว่าการใช้ Social Network ในสังคมไทยในปัจจุบันนั้นถือว่า มีการป้องกันในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี แต่ก็คงไม่เพียงพอที่ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ Cyber Bullying ขึ้นมาได้ ผู้ใช้ต้องเข้าใจและเท่าทันเหตุการณ์ปัจจุบัน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
ป้องกันยังดีกว่ามีปัญหาแล้วค่อยมาแก้ไข
เรื่องแบบนี้ควรป้องกันไว้จะดีกว่าเยอะมาดูกันว่า เราจะมีวิธีป้องกันอย่างไร

เรียนรู้และเข้าใจ การเราควรไปศึกษาที่เรียนรู้ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุต่าง ๆ และ ควรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ จากประสบการณ์ของคนอื่น ซึ่งแต่ละคนจะเจอประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
ป้องกันพาสเวิร์ด พาสเวิร์ด ก็คือกุญแจที่อยู่ในมือของคนใช้นั้นละ ที่สามารถเปิดเข้าไปใช้ข้อมูลของคุณได้ และ คนอื่นก็สามารถเข้าไปใช้ข้อมูลของคุณได้เหมือนกัน หากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ
คิดเสมอเวลาโพสรูป และข้อความ ก่อนโพสอะไรในบางครั้งก็ควรคิดบ้างว่ามีผลกระทบต่อเราหรือไม่
อย่าเปิดข้อความหรืออีเมล์จากคนไม่รู้จัก อย่าไปเปิดโดยเด็ดขาดเลย เพราะถ้าเปิดแล้ว ระบบก็มีการดัดเก็บพาสเวิร์ดของคุณก็เป็นได้
ล๊อกเอาท์ทุกครั้งจากการออนไลน์ อย่าพยายามกดเซฟพาสเวิร์ดโดยเก็บไว้ในรูปแบบของ คุกกี้ที่อยู่ภายในเครื่อง แต่ถ้าคุณทำการล๊อกเอาท์ออก คุกกี้ เหล่านั้นก็จะหายไปด้วยเช่นกัน หรือ ควรลบข้อมูลประวัติการใช้งานของเว็บบราวเซอร์ด้วย จะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ คุกกี้ ออกไปจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ได้
ตื่นตัวและปรับตัวการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ควรหาข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม และ ระวังตัวในการเช็คค่าข้อมูลส่วนตัวบน Social Network

ใช้ อินเตอร์เน็ตยังไงให้ปลอดภัย

เป็นคำแนะนำที่ดีที่เก็บตกมาจากงาน เสวนาเวทีสาธารณะ ล่าแม่มด-เซ็กซ์-ความรุนแรง ภัยเงียบออนไลน์ซึ่งข้อเสนอแนะนำเหล่านี้ สามารถไปปรับใช้กับชีวิตเราได้ด้วย ลองทัศนาและเลือกใช้กันตามอัธยาศัยนะคะ

ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อนามสกุล ที่อยู่
ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัว
ไม่ควรโอนเงินให้ใครเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่ไว้ใจได้จริง ๆ
ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการป้องกันลักพาตัวหรือเกิดมีคดีต่าง ๆ ได้
ระวังการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ
ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่รู้จักกันอาจจะทำไม่ดี ไม่พึงประสงค์กับเราได้ตลอดเวลา
การลงทะเบียนเว็บต่าง ๆ ความระวังตัวไว้ เพราะ ข้อมูลเหล่านั้นก็มีผู้ไม่หวังดีกำลังขโมยข้อมูลเราก็เป็นได้
การทำธุรกรรมผ่านเว็บ ควรเช็คราคาให้ดี ๆ ถ้าเห็นว่า รายได้นั้น มันสูงเกินจริง ก็ควรคิดเสมอว่า อาจจะตกอยู่กลลวงของผู้ไม่หวังดี
ไม่ควรเข้าเว็บต้องห้าม หรือ เนื้อหาที่มีความรุนแรง ซึ่งเว็บเหล่านั้น อาจจะมีการขโมยข้อมูลเราไปในตัวด้วย